วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

กำเนิดมวยสากลโลก

มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐานซึ่ง Sir Ather Evan ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณ ซึ่งแยกออกเป็นชิ้นๆ ในปี พ.ศ. 2443 ที่เมืองบอซซุส อันเป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะครีตของประเทศกรีซ ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากหลักฐานทำให้ทราบว่า มวยโบราณสมัยกรีกก่อนคริสต์ศักราช แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- ระยะแรก เป็นสมัยของโฮมเมอร์ ประมาณ 900-600 ก่อนคริสต์ศักราช ตอนนี้ใช้หนังอ่อนๆ ยาว 10-12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความแข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และฝีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ
- ระยะที่สอง ระหว่าง 400-200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มีการดัดแปลงเล็กน้อยคือ พันมือแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นที่นิยมในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องฝึกอย่างน้อย 9 เดือน เมื่อใกล้ถึงวันแข่งจริงจะทำการจับคู่คล้ายกับปัจจุบัน วิธีการชกคือ นักมวยเข้าหากันเป็นเส้นตรง ชกกันตลอดเวลาไม่มีการพักยกจนกว่าข้างหนึ่งข้างใดจะหมดกำลัง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสิน และไม่มีกำหนดน้ำหนัก
- ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวกพวก Giadaiors ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่งต่อมาในราวปี พ.ศ. 937 โรมันเสื่อมอำนาจลง การชกมวยก็ได้เสื่อมไปด้วย
เมื่อครั้งโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้นำเอามวยเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย ซึ่งนักบุญเบอร์นาร์ดได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. 1783 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวิน
มวยสากลของอังกฤษแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
ระยะแรกในระหว่างปี พ.ศ. 2241 ถึง 2333 เรียกว่า สมัยมงกุฎผีสิงเพราะส่วนมากจะได้มงกุฎเป็นรางวัล Jim Fick เป็นผู้ชนะเลิศมวยมือเปล่าคนแรกของอังกฤษโดยชนะเลิศในปี พ.ศ. 2283 เขาได้ดำเนินการสอนมวยสากล และเป็นบุคคลแรกในปี พ.ศ. 2486 ที่ได้กำหนดกติกามวยสากลขึ้น จนได้ชื่อว่า บิดาแห่งมวยสากลอังกฤษ
ในปีเดียวกัน Brutan ก็ได้ประดิษฐ์นวมขึ้นในการชก แต่คงใช้ในการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น สำหรับมวยอาชีพยังใช้มือเปล่าอยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 Carepier Mandesa ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ และได้พยายามรักษาตำแหน่งไว้จนถึงปี พ.ศ. 2338 ถึงได้เสียตำแหน่งให้แก่ Jackson ซึ่ง Jackson ได้สละตำแหน่งในเวลาต่อมา และได้เปิดฝึกมายจนมีชื่อเสียง มีลูกขุนนางและสุภาพชนมากหน้าหลายตามาสัครเรียนมวยจึงกลายเป็นศาสตร์ที่เราต่างศึกษากันจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาเนื่องจากการให้รางวัลนักมวย ด้วยเงิน จึงมีการแข่งขันกันมากโดยการติดสินบนแก่ผู้จัดการของนักมวย มวยจึงเป็นเครื่องมือหากินของเจ้าของเงินนั้นไป สามคมหลายแห่งต้องล้มเลิกในระยะต่อมา ทางราชการอังกฤษจึงไม่ร่วมมือด้วยนักมวยก็ละเมิดกติกา จึงมีอันตรายเกิดขึ้นเนืองๆ ในที่สุดวงการมวยสากลของอังกฤษก็เสื่อมลงไประยะหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวิเคราะห์กติกามวยสากลที่บูรตันคิดค้นแล้วจะเห็นว่ายังไม่รัดกุม เช่น จำนวนยกกำหนดไว้ไม่แน่นอน เพียงแต่แข่งขันกันจนนักมวยคนหนึ่งคนใดถูกน็อคหรือถูกเหวี่ยงจนล้มไม่สามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้ภายในเวลา 30 วินาที การฟาวล์ก็มีเพียง 2 ข้อคือ การชกขณะล้มและกอด หรือยึดต่ำกว่าเอว
กติกาเหล่านี้ภายหลังได้ชื่อว่าเป็นกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2381 บาควิสที่ 6 แห่งควินสาบอรี่ จึงได้ยกร่างกติกาใหม่ด้วยความร่วมมือของ John B. Chember ในปี พ.ศ. 2409 จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปว่าเป็นกติกาสากล อันเป็นรากฐานแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ยก 2 ยกแรก ยกละ 3 นาที ยกสุดท้าย 4 นาที
การตัดสินก็โดยความเห็นชอบจากฝ่ายข้างมากของผู้ตัดสิน ผู้ใดชกล้มถือว่าแพ้ ถ้าไม่ลุกขึ้นมาภายใน 10 วินาที การชกต้องสวมนวมตลอดเวลา ผู้ชี้ขาดจะต้องอยู่ในสังเวียนเพียงคนเดียวกับนักมวยอีกสองคนเท่านั้น กติกานี้วงการมวยสมัครเล่นนำไปใช้ทันที แต่สำหรับมวยอาชีพค่อยๆ นำไปใช้ในตอนหลัง มวยอาชีพได้มีการเปลี่บนแปลงเรื่องจำนวนยก คือสู้กี่ยกก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน ในปี พ.ศ. 2424 ได้วางกติกามวยสมัครเล่นขึ้นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้ายของเดิม เพียงแต่เพิ่มระเบียบการตัดสินและการบันทึกให้รัดกุมเท่านั้น
การใช้นวมเริ่มกันอย่างจริงจังในสมัยการใช้กติกาควีนสเบอรี่ (Queensberry) ปี พ.ศ. 2403 นี้เอง ก่อนนั้นนิยมการพันมือแทนนวม และค่อยๆ เปลี่ยนมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยกิจกรรมมวย ได้ถูกยกย่องขึ้นเป็นศิลป์ ความจริงการใช้นวมทำให้การชกลดอันครายลงได้มาก และทำให้การชกรวดเร็วขึ้น ผู้ชกไม่ต้องห่วงถึงอันตรายเกี่ยวกับมือหักหรือเคล็ดอีกต่อไป
ในปี พ.ศ. 2425 John L. Sulrivan ชาวอเมริกัน ได้ชกชนะ Patty Ryan ชาวอังกฤษ และได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งอเมริกาในการชกตามกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน 9 ยก ที่เมืองมิสซิสซิปปี้
ต่อมาอีก 3 ปี James Smith ชาวอังกฤษ ได้เป็นผู้ชนะแห่งอังกฤษ โดยชนะ Jack Davids
ในปี พ.ศ. 2430 Jack Kirlan อเมริกา เสมอกับ James Smith อังกฤษและในการแข่งขันครั้งนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันว่าทั้งคู่คือผู้ครองเข็มขัดชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก
ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 John L. Sulrivan ได้ชิงตำแหน่งชนะเลิศของโลกจาก Jack Kirlan ที่เมืองริชเยอก มลรัฐมิสซิสซิปปี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าครั้งสุดท้าย เป็นจำนวน 75 ยก John L. Sulrivan ผู้ชนะเลิศ ประกาศว่าจะไม่ยอมชกด้วยมือเปล่าอีกต่อไป ตั้งแต่นั้นมาการชกมวยอาชีพในอเมริกาจึงใช้นวมมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2457 มี 4 รัฐ ในอเมริกาคือ นิวยอร์ก แคลิฟอร์เนีย หลุยเซียนา เนวาดา และฟลอริดา ได้ตกลงแบ่งการชกออกเป็น 20 ยก เหมือนกัน และในปีนี้รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายควบคุมในรัฐแคลิฟอร์เนียให้การชกเหลือเพียง 4 ยก ในปี พ.ศ. 2458
ระหว่างปี พ.ศ. 2458-2473 นับว่าเป็ระยะที่การชกมวยในสหรัฐอเมริการุ่งเรืองถึงขีดสุด รัฐนิวยอร์ก และรัฐวินคอนซิลได้ตรากฎหมายควบคุมการชกเป็นจำนวน 10 ยก และมีผู้ตัดสินที่มีสมรรถภาพดีเยี่ยมเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่มลรัฐอื่นๆ ส่วนในรัฐแคลิฟอร์เนียยังคงกำหนดการชกเป็น 4 ยกอยู่ เมื่อรัฐบาลกลางตรากฎหมายควบคุม ในตอนนี้กฎหมายควบคุมการชกมวยในมลรัฐต่างๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 44 มลรัฐ
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการฝึกซ้อมมวยกันภายในกองทัพเพื่อฝึกหัดให้ทหารมีจิตใจกล้าหาญเพื่อการสู้รบในยามสงคราม ฝึกให้มีสมรรพภาพทางกาย หู ตาไว การทรงตัวดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตนเองในเวลาต่อสู้และเหนือสิ่งอื่นให้เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มวยสากลจึงเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในกองทหารตลอดมา
มวยสากลเข้าสู่สถานศึกษาครั้งแรกในมหาวิทยาลัยฮาวาโด เมืองแคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ เริ่มศึกษากันอย่างจริงจังในระหว่างปี พ.ศ. 2429-2462 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างเต็มที่ ถึงกับได้ตั้งสถาบันฝึกหัดมวยขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่ง มีผู้สมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2463 ได้บรรจุวิชามวยสากลเข้าในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ ทำให้กิจกรรมมวยสากลได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยกากลซึ่งได้กำหนดไว้ในวิชาพลศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกได้ขยายตัวมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกเป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ป้องกันตัว และทำการแข่งขันกันระหว่างโรงเรียนเป็นประจำ อันเป็นทางหนึ่งที่จะผลิตนักมวยสากลให้แก่สมาคมมวยสมัครเล่น และมวยสากลอาชีพต่อไป

กำเนิดมวยสากลในเอเชียและในไทย
กีฬามวยสากลแพร่หลายเข้าสู่เอเชียครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ผ่านทางสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงแพร่หลายต่อไปยังญี่ปุ่นและไทย ทั้ง 3 ประเทศนี้เป็นประเทศที่บุกเบิกทางด้านกีฬามวยสากลในเอเชียและเป็นประเทศร่วมก่อตั้งสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF)
มวยสากลหรือที่เรียกในยุคแรกว่า "มวยฝรั่ง" เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกราว พ.ศ. 2455 โดยได้แบบอย่างจากประเทศอังกฤษ ผู้นำมาเผยแพร่คือหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล ครั้งแรกนำมาเผยแพร่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และแพร่ต่อไปยังโรงเรียนต่างๆ มีการจัดแข่งขันมวยนักเรียนซึ่งเป็นแบบมวยสากลสมัครเล่นในยุคต่อ ๆ มา

ไม่มีความคิดเห็น: